คุณรู้จักblogนี้ได้อย่างไร

วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553

กฏหมายไทย


กฎหมายเป็นเครื่องควบคุมประพฤติการณ์ในสังคม พัฒนาขึ้นมาจากศีลธรรม ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี ศาสนา และกฎเกณฑ์ข้อบังคับ ตามลำดับ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อธำรงความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของสมาชิกในสังคม กับทั้งเพื่อให้การอยู่ร่วมกันในสังคมนั้นเป็นไปโดยราบรื่น สนองความต้องการของภาคส่วนต่าง ๆ อย่างเหมาะสม ดังภาษิตละตินที่ว่า "ที่ใดมีมนุษย์ ที่นั้นมีสังคม ที่ใดมีสังคม ที่นั้นมีกฎหมาย ด้วยเหตุนั้น ที่ใดมีมนุษย์ ที่นั้นจึงมีกฎหมาย" (ละติน: Ubi homo, ibi societas. Ubi societas, ibi jus. Ergo ubi homo, ibi jus) ด้วยเหตุนี้กฎหมายจึงได้ชื่อว่าเป็น "ปทัสถานทางสังคม" (อังกฤษ: social norms) ซึ่งบางทีก็เรียก "บรรทัดฐานของสังคม"

กฎหมายเป็นกฎเกณฑ์ความประพฤติที่กำหนดให้คนในสังคมปฏิบัติตาม ส่วนใหญ่ปรากฏในสังคมที่มีระบบความสัมพันธ์สลับซับซ้อนมาก และมีองค์กรหรือสถาบันคอยกำกับดูแลการประพฤติปฏิบัติตามอย่างเป็นกิจจะลักษณะ
นักสังคมวิทยาจำแนกความแตกต่างระหว่างกฎหมายกับจารีตประเพณีไว้ดังต่อไปนี้[12]
1. กฎหมายกำหนดระดับต่าง ๆ ของการกระทำความผิด และกำหนดบทลงโทษสำหรับความผิดนั้นตามระดับด้วย ผิดน้อยก็โทษน้อย ผิดมากก็โทษมาก แต่จารีตประเพณีเป็นเรื่องของความรู้สึกว่ารับได้หรือไม่ได้ของสังคมมากกว่า
2. การลงโทษผู้กระทำตามกฎหมายมีองค์กรคอยเป็นธุระจัดการอย่างเป็นกิจจะลักษณะ แต่สำหรับจารีตประเพณีแล้ว ไม่มีองค์กรรับผิดชอบเช่นว่าโดยเฉพาะและมักเป็นการลงโทษของสังคมเอง เช่น การประณาม การเลิกคบค้าสมาคมด้วย ฯลฯ
3. จารีตประเพณีมีความเป็นยาวนานและเปลี่ยนแปลงยาก ในขณะที่กฎหมายแม้อาจมีความเป็นมายาวนานแต่ก็สามารถเปลี่ยนแปลงปรับปรุงให้เข้ากับสถานการณ์เฉพาะหน้าได้ทันที
4. จารีตบางอย่างถูกละเลยโดยคนในสังคม กฎหมายจึงมีประโยชน์กว่าเพราะมีอำนาจบังคับใช้แก่ทุกคนเป็นการทั่วไปอย่างไม่มีการยกเว้น
5. จารีตประเพณีบางทีก็ไม่ชัดเจน ทำให้เกิดปัญหาได้ ขณะที่กฎหมายมีความแน่นอนกว่า

วันเสาร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

เศรษฐกิจพอเพียง


เศรษฐกิจพอเพียงกับทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ
เศรษฐกิจพอเพียงและแนวปฏิบัติของทฤษฎีใหม่ เป็นแนวทางการพัฒนาที่นำไปสู่ความสามารถในการพึ่งตนเองในระดับต่าง ๆ อย่างเป็นขั้นเป็นตอน ลดความเสี่ยงเกี่ยวกับความผันแปรของธรรมชาติ อาศัยความพอประมาณและความมีเหตุผล สร้างภูมิคุ้มกันที่ดี มีความรู้ ความเพียร และความอดทน สติ และปัญญา การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และความสามัคคี
เศรษฐกิจพอเพียงมีความหมายกว้างกว่าทฤษฏีใหม่ โดยที่เศรษฐกิจพอเพียงเป็นกรอบแนวคิดที่ชี้บอกหลักการ และแนวทางปฏิบัติของทฤษฎีใหม่ ในขณะที่แนวพระราชดำริเกี่ยวกับทฤษฎีใหม่หรือเกษตรทฤษฏีใหม่ เป็นแนวทางการพัฒนาภาคเกษตรอย่างเป็นขั้นตอน เป็นตัวอย่างการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมเฉพาะในพื้นที่ที่เหมาะสม
เศรษฐกิจพอเพียง มี 2 รูปแบบ คือ
เศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐาน คือ ความพอมี พอกิน สามารถพึ่งตนเองได้โดยไม่โลภมาก และไม่เบียดเบียนคนอื่น
เศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า คือ การแลกเปลี่ยนร่วมมือช่วยเหลือกัน เพื่อทำให้ส่วนร่วมได้รับประโยชน์ และนำไปสู่การพัฒนาชุมชนและสังคมให้เจริญอย่างยั่งยืน
เกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นตัวอย่างที่เป็นรูปแบบของการใช้ปรัชญาเศรษฐกิจด้านการเกษตร แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ
ทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1 เป็นการทำการเกษตรที่มีระบบการผลิตที่สามารถเลี้ยงตนเองในระดับที่ประหยัด และสามารถช่วยเหลือตนเองได้โดยเริ่มจากการแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 เป็นพื้นที่สระน้ำเพื่อเก็บกักน้ำฝนไว้ใช้ในไร่นาเพื่อปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ ส่วนที่ 2 เป็นพื้นที่ปลูกข้าว เพื่อใช้สำหรับการบริโภคในครัวเรือนให้เพียงพอตลอดปี ส่วนที่ 3 เป็นพื้นที่ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชไร่ และอื่น ๆ เพื่อเป็นอาหารและยาสำหรับบริโภคในครัวเรือน เหลือจึงจำหน่ายเป็นรายได้ ส่วนที่ 4 เป็นพื้นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์ ถนนหนทาง และโรงเรือน
ทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 2 เป็นการรวมพลังของเกษตรกรในรูปกลุ่มหรือสหกรณ์ร่วมกันดำเนินการในการผลิต การตลาด การเป็นอยู่ สวัสดิการ การศึกษา สังคม และศาสนา โดยได้รับความร่วมมือจากภาครัฐ และเอกชน
ทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 3 เป็นการประสานเพื่อจัดหาทุนและแหล่งเงินมาช่วยในการลงทุนและพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยได้รับประโยชน์ร่วมกัน
ดังนั้น การที่จะเลือกใช้ทฤษฎีใหม่ทั้งทฤษฎีใหม่ขั้นต้น และทฤษฎีใหม่ขั้นก้าวหน้าในการส่งเสริมเกษตรกรให้เป็นรูปธรรมตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับเกษตรกรแต่ละกลุ่มหรือแต่ละชุมชน จะต้องมีความเข้าใจและยึดหลักการในการบริหารจัดการที่ดิน และน้ำเพื่อการเกษตรให้เกิดประโยชน์สูงสุด

เศรษฐกิจพอเพียง


“เศรษฐกิจพอเพียง” (Sufficiency Economy) เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดรวมถึงการพัฒนาและบริหารประเทศ ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของ ทางสายกลาง คำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจ และการกระทำ
อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่ยังมีความเข้าใจที่หลากหลายและไม่ชัดเจน ถึงความหมายและหลักแนวคิดที่แท้จริงของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ดังนั้น สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จึงได้จัดทำหนังสือ “เศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร” ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ที่ต้องการจะอธิบายความหมายของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งกรอบแนวคิดของหลักปรัชญาฯ ที่มุ่งเน้นความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา อันมีคุณลักษณะ ที่สำคัญ คือ สามารถประยุกต์ใช้ได้ในทุกระดับ ตลอดจนได้อธิบายคำนิยามของความพอเพียง ที่ประกอบด้วย ความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ภายใต้เงื่อนไขของการตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมที่ต้องอาศัยเงื่อนไขความรู้และเงื่อนไขคุณธรรม
นอกจากนี้ ภายในหนังสือเล่มนี้ยังได้กล่าวถึง ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาภาคเกษตรอย่างเป็นขั้นเป็นตอน และเป็นตัวอย่างการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในทางปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม โดยแบ่งได้เป็นแบบพื้นฐานกับแบบก้าวหน้า ซึ่งมีอยู่ ๓ ขั้น และในตอนท้ายของหนังสือยังได้สรุปถึงการสร้างขบวนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงที่ สศช. ได้ริเริ่มดำเนินการเพื่อเป็นการเสริมสร้างให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาไปได้อย่างมั่นคงภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ และนำไปสู่ความอยู่เย็นเป็นสุขของประชาชนชาวไทย

เศรษฐกิจพอเพียง


เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง เศรษฐกิจที่สามารถอุ้มชูตัวเองได้ให้มีความพอเพียงกับตัวเอง (Self Sufficiency) อยู่ได้โดยไม่สร้างความเดือดร้อนให้ตนเอง และผู้อื่น ซึ่งต้องสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจของตนเองให้ดีเสียก่อนมีความพอกินพอใช้สามารถพึ่งพาตนเองได้ ย่อมสามารถ สร้างความเจริญก้าวหน้าและฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศได้

เศรษฐกิจพอเพียง


เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ชี้แนวทางการดำรงชีวิต ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชดำรัสแก่ชาวไทยนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 เป็นต้นมา[1][2] และถูกพูดถึงอย่างชัดเจนในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 เพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศไทย ให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในกระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ[3]
เศรษฐกิจพอเพียงมีบทบาทต่อการกำหนดอุดมการณ์การพัฒนาของประเทศ โดยปัญญาชนในสังคมไทยหลายท่านได้ร่วมแสดงความคิดเห็น อย่างเช่น ศ.นพ.ประเวศ วะสี, ศ.เสน่ห์ จามริก, ศ.อภิชัย พันธเสน, และศ.ฉัตรทิพย์ นาถสุภา โดยเชื่อมโยงแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเข้ากับวัฒนธรรมชุมชน ซึ่งเคยถูกเสนอมาก่อนหน้าโดยองค์กรพัฒนาเอกชนจำนวนหนึ่งนับตั้งแต่พุทธทศวรรษ 2520 และได้ช่วยให้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในสังคมไทย

วันพุธที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

เศรษฐกิจพอเพียงหมายถึงอะไร


ปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง
“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทาง การดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำ แนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลง
มีหลักพิจารณา ดังนี้
กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็นโดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤติ เพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา
คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน
คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะพร้อม ๆ กัน ดังนี้
1. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกิดไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
2. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
3. การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรุ้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ
1. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
2. เงื่อนไขความธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความชื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความพากเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมสิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี


Gadger รูปภาพ

Gadger รูปภาพ
การเพิ่ม Gadger รูปภาพ

พยากรณ์อาอากาศ

ราคาทองคำวันนี้